วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ขอบคุณ อาจารย์หมง ที่ให้ความรู้ ความรักห่วงใยพวกเราทุกคน จากใจศิษย์ ป.บัณฑิตรุ่น 10จะเก็บของที่ระลึกพวงกุญแจหมีน้อยไว้ให้ดีที่สุด ขอบคุณมากๆคะ

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2551

วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2551

วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2551

ในหลวงกับเทคโนโลยี

...กังหันน้ำชัยพัฒนา...
กังหันน้ำชัยพัฒนา มีชื่อทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมว่า " เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย ( Low speed surface Aerator ) "และมีชื่อในการจดสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ใช้ภาษาอังกฤษว่า " Chaipattana Low Speed Surface Aerator, Model RX-2) " โดยทั่วไปเรามักเรียกว่า"กังหันน้ำชัยพัฒนา"อันเป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชานไว้ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2531 ปัญหาเรื่องน้ำเสียมีประวัติความเป็นมาควบคู่ไปกับความเจริญเติบโตของชุมชน กล่าวคือ เมื่อครั้งประชากรยังน้อยและกระจัดกระจายก็ไม่เป็นปัญหาอะไรมากนัก ต่อมาเมื่อชุมชนเจริญเติบโตประชากรเพิ่มมากขึ้น ปัญหาเรื่องน้ำเสียก็ติดตามมาเป็นเงาตามตัว ทั้งนี้ เพราะว่าน้ำเสียเป็นผลิตผลอย่างหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันของคน และนับวันน้ำเสียจะมีปริมาณมากขึ้นเป็นทวีคูณ และมีสารใหม่ๆ แปลกๆ ของผลิตภัณฑ์สมัยใหม่เจือปนอยู่ด้วย ซึ่งจะทำให้น้ำเสียเป็นปัญหายุ่งยากมากขึ้นตามลำดับในอนาคตน้ำเสียนอกจากจะโสโครกมีกลิ่นเหม็นสีดำคล้ำ และอาจมีสารเคมีที่มีพิษเจือปนอยู่ด้วย เมื่อน้ำเสียไหลลงสู่แหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง ก็จะแปรสภาพแหล่งน้ำสะอาดตามธรรมชาติให้กลายเป็นน้ำเสียไป ทำให้ไม่อาจใช้น้ำจากแหล่งน้ำแหล่งนั้นได้อีกต่อไป อีกทั้งยังส่งกลิ่นเหม็นตลบไปทั่วบริเวณ ทำให้อากาศหายใจไม่บริสุทธิ์เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างร้ายแรง สัตว์น้ำทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำหากไม่ตายก็ต้องต้องอพยพหนีไปอยู่ที่อื่น ส่วนที่ทนอาศัยอยู่ต่อไปได้ย่อมจะมีรสชาติของเนื้อผิดแผกไป ความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่ในด้านอนามัยของประชาชนเท่านั้น หากยังกระทบกระเทือนถึงเศรษฐกิจของประเทศด้วย เพราะเหตุว่ากิจการที่ต้องใช้น้ำเป็นวัตถุดิบ เช่น การประปา และการอุตสาหกรรม ไม่อาจจะใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเหล่านี้ได้ เป็นเหตุให้ต้นทุนการผลิตสูง ประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งชุมชนแออัดและที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแหล่งน้ำกำลังประสบปัญหาภาวะน้ำเน่าเสียเช่นนี้ ซึ่งยิ่งนับวันจะมีความรุนแรงเป็นทวีคูณ และส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมต่อส่วนรวมและเป็นภาระอันยิ่งใหญ่ในปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยต่อสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในแหล่งชุมชน ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสภาพน้ำเสียในพื้นที่หลายๆ แห่ง หลายครั้ง ทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑลและต่างจังหวัด พร้อมทั้งได้พระราชทานพระราชดำริเรื่องการแก้ไขน้ำเน่าเสีย เริ่มด้วยการแก้ไขน้ำเสียรูปแบบง่าย ในช่วงแรกระหว่าง พ.ศ. 2527 ถึง พ.ศ.2530 โดยการใช้น้ำที่มีคุณภาพดีช่วยบรรเทาน้ำเสียบ้าง ใช้วิธีกรองน้ำด้วยผักตบชวาบ้าง ซึ่งก็จะได้ผลเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น ต่อมาตั้งแต่ พ.ส.2531 เป็นต้นมา สภาพความเน่าเสียของน้ำที่บริเวณต่างๆ มีความรุนแรงยิ่งขึ้น การแก้ไขน้ำเสียรูปแบบดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ผลเท่าที่ควร จำเป็นต้องนำเครื่องกลเติมอากาศเข้าช่วยบำบัดน้ำเสียอีกทางหนึ่งด้วยจึงพระราชทานแนวพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศแบบไทยทำไทยใช้ขึ้นมา เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2531 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยเหลือรัฐบาลเพื่อบรรเทาน้ำเน่าเสียแบบใช้ค่าใช้จ่ายน้อย ไปตามที่ต่างๆ

...พระราชกรณียกิจด้านสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์...

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยด้านการสื่อสารตั้งแต่ทรงพระเยาว์ "...ทรงทดลองต่อสายไฟพ่วงขนานกับลำโพงขยาย ของเครื่องรับวิทยุส่วนพระองค์ที่ผลิตจากประเทศสวีเดน ยี่ห้อ 'Centrum' จากห้องที่ประทับพระองค์ท่านไปยังห้องที่ประทับ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทั้งสองพระองค์ทรงพอพระทัยในบริการเสียงตามสายไม่น้อย... " (สุชาติเผือกสกนธ์, วันสื่อสารแห่งชาติ : 2530)พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงอุทิศพระองค์ พระอัจฉริยะและพระอุตสาหะทั้งมวล เพื่อราษฎรในทุกภูมิภาค พระองค์ทรงมีดำริให้มีการพัฒนาด้านระบบวิทยุสื่อสารอย่างจริงจัง และต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวคือสามารถรับส่งได้ไกลยิ่งขึ้นดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงใช้เครื่องมือสื่อสารพกติดพระองค์เพื่อประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ อยู่เสมอ เพราะสิ่งที่พระองค์ทรงขาดไม่ได้คือการสดับตรับฟังข่าวทุกข์สุขของประชาชน ดังเช่น ในระหว่างการเสด็จเยี่ยมราษฎรได้ทรงพบว่า มีผู้ใดที่กำลังป่วยเจ็บจำเป็นต้องบำบัดรักษา จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้คณะแพทย์ผู้ตามเสด็จดูแลตรวจรักษาทันทีในบางรายที่มีอาการป่วยหนักจำเป็นต้องส่งตัวเข้าบำบัดรักษาในโรงพยาบาลท้องถิ่นหรือโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครโดยเร็วหากมีเวลาเพียงพอ พระองค์ท่านจะรับสั่งผ่านทางวิทยุถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ตำรวจตระเวนชายแดน ขอรับการสนับสนุนเรื่องการขนส่ง เช่น เฮลิคอปเตอร์ เพื่อนำผู้ป่วยเจ็บส่งยังที่หมายปลายทางด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้ พระองค์ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำระบบสื่อสารแบบถ่ายทอดสัญญาณ หรือ Repeater ซึ่งเชื่อมต่อทางวงจรทางไกลขององค์การโทรศัพท์ฯ ให้มูลนิธิแพทย์อาสาฯ (พอ.สว.) นำไปใช้เพื่อช่วยเหลือรักษาพยาบาลแก่ผู้เจ็บป่วย ในท้องถิ่นห่างไกล ในเรื่องการปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงพระราชทาน ในการปฏิบัติระยะแรกๆ ได้ประสบปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ที่ไม่ทราบล่วงหน้า ซึ่งนักบินผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำแก้ไขโดยฉับพลัน เนื่องจากยังไม่มีการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติการด้วยกันจึงเป็นเหตุให้ไม่ได้ผลเท่าที่ควร กล่าวคือฝนไม่ตกในเป้าหมายบ้าง ตกน้อยหรือไม่ตกตามที่คิดบ้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสดับตรับฟังข่าวการปฏิบัติการฝนเทียมทุกครั้ง และทรงทราบถึงปัญหาสำคัญคือ การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดีจึงโปรดเกล้าฯ ให้ติดตั้งวิทยุให้แก่หน่วยปฏิบัติการฝนเทียม ทั้งทางอากาศและทางภาคพื้นดิน นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้ทำการศึกษาวิจัย รวมถึงการออกแบบและสร้างสายอากาศย่านความถี่สูงมาก หรือที่เรียกว่า VHF (วี.เอช.เอฟ) ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ประการแรก เพื่อที่จะได้ใช้งานกับวิทยุส่วนพระองค์ ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ที่จะให้ทราบเหตุการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของสาธารณภัยที่เกิดขึ้นกับประชาชน เรื่องไฟไหม้ เรื่องน้ำท่วม ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ทรงช่วยเหลือได้ทันท่วงที ประการที่สอง เพื่อที่จะพระราชทานให้แก่หน่วยราชการต่างๆ ประการที่สาม เพื่อส่งเสริมให้คนไทยที่มีความรู้ ความสามารถและตั้งใจจริง ได้ใช้ความอุตสาหวิริยะในการพัฒนาระบบวิทยุสื่อสารขึ้นใช้เองภายในประเทศ นอกเหนือจากวิทยุสื่อสารแล้ว ในเรื่องของเทเล็กซ์พระองค์ทรงสนพระทัยอยู่ไม่น้อย และสิ่งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เคยทรงขาดคือ การพระราชทานพรปีใหม่ นอกจากจะทรงมีกระแสพระราชดำรัส พระราชทานพรปีใหม่แก่พสกนิกรไทยทางวิทยุและโทรทัศน์ทุกแห่งแล้ว พระองค์ท่านยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพรทางเทเล็กซ์สม่ำเสมอทุกปีแต่ในปัจจุบันท่านทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในการประดิษฐ์บัตรอวยพรปีใหม ่แทน นอกจากนี้พระองค์ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสื่อสาร ว่า การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจทุกประเภท,การสื่อสารเป็นหัวใจของความมั่นคงของประเทศ และการสื่อสารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศให้ประชาชนอยู่ดีกินดี

...พระราชกรณียกิจด้านวิทยุกระจายเสียง...


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยในเรื่องวิทยุเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเยาว์ ซึ่งพระองค์ประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์ได้ทรงซื้ออุปกรณ์เครื่องรับวิทยุ ซึ่งมีวางขายเลหลังราคาถูกทรงประกอบเป็นเครื่องรับวิทยุชนิดแร่ สามารถรับฟังวิทยุกระจายเสียงในยุโรปได้หลายแห่ง ต่อมาเมื่อกิจการวิทยุเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ได้นำหลอดวิทยุมาใช้ในเครื่องรับ-ส่งวิทยุ และเครื่องขยายเสียง และพระองค์ท่านก็ได้ทรงทดลองอุปกรณ์แบบใหม่นี้ด้วยเช่นกัน เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับมา ประทับอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวร ในปี พ.ศ. 2495 พระองค์ได้ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ขึ้นที่พระราชวังสวนดุสิต และชื่อสถานีวิทยุดังกล่าวได้ทรงนำมาจากอักษรย่อของพระที่นั่งอัมพรสถาน ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ออกอากาศครั้งแรก ต่อมาจึงย้ายสถานีวิทยุ อ.ส. เข้าไปตั้งในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สถานีวิทยุ อ.ส. เมื่อแรกตั้งเป็นสถานีเล็กๆ มีเครื่องส่ง 2 เครื่อง ขนาดที่มีกำลังส่ง 100 วัตต์ ออกอากาศด้วยคลื่นสั้นและคลื่นยาวในระบบ AM พร้อมๆ กัน เครื่องส่งรุ่นแรกนี้เป็นเครื่องที่ กรมประชาสัมพันธ์ทูลเกล้าฯ ถวายและติดตั้งให้ด้วยเมื่อออกอากาศไปได้ระยะหนึ่ง และในระบบคลื่นสั้นก็มีจดหมายรายงานผลการรับฟัง เข้ามาจากหลายประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาเยอรมันฯ เป็นต้น ดังนั้นจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขยายกำลังส่ง โดยมีชื่อรหัสสถานีว่า HS 1 AS ในปี พ.ศ. 2525 สถานีวิทยุ อ.ส. ได้เพิ่มการส่งกระจายเสียงในระบบ FM ขึ้นอีกระบบหนึ่ง ในการขยายด้านกำลังส่งนั้นอุปกรณ์ต่างๆ ล้วนแต่มีผู้โดยเสด็จพระราชกุศลเพื่อให้สถานีวิทยุ อ.ส. สามารถบริการประชาชนได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น อาจถือได้ว่าเป็นสถานีวิทยุเอกชนเพียงแห่งเดียวที่สามารถกระจายเสียงคลื่นสั้นได้ ทั้งนี้เพราะถือว่าเป็นเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ พระองค์ทรงมีวัตถุประสงค์ที่ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. เพื่อเปิดโอกาสให้พสกนิกรมีช่องทางในการติดต่อกับพระองค์ได้ง่ายขึ้นไม่ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนตามพิธีการเหมือนในสมัยก่อน ทรงใช้สถานีวิทยุเพื่อเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ติดต่อข่าวสารกับประชาชน และเป็นสื่อสัมพันธ์ระหว่างพระองค์และประชาราษฎร์ ที่ทรงแสดงให้ทราบถึงใจรักที่พระองค์ท่านพระราชทานให้กับประชาชนทั่วทุกคน นอกเหนือจากเป็นสถานีวิทยุของสื่อมวลชนเพื่อการบันเทิง และเผยแพร่ความรู้กับประชาชนแล้ว ยังได้ทำหน้าที่แจ้งข่าวสารแก่ประชาชนในโอกาสสำคัญ หรือเกิดเหตุการณ์ที่สำคัญต่างๆ ขึ้น เช่น การเกิดโรคโปลีโอระบาดในปี พ.ศ. 2495 อหิวาตกโรคในปีพ.ศ. 2501 และเมื่อเกิดวาตภัยที่แหลมตะลุมพุกในปี พ.ศ. 2505 โดยมีพระราชดำริให้ใช้สถานีวิทยุ อ.ส. เพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรม จนเป็นบ่อเกิดของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ซึ่งปัจจุบันมีคุณขวัญแก้ว วัชโรทัย ทำหน้าที่นายสถานี เล่าให้ฟังว่า นโยบายหลักเกี่ยวกับการบริหารงานของสถานี ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้ก็คือ การเปิดโอกาสให้คนที่มีความรู้ ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการหรือเอกชน ได้เข้ามาสนองพระมหากรุณาธิคุณให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ของสถานีจึงเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น และทรงรับภาระต่างๆ ด้านสถานีด้วยทุนทรัพย์ส่วนพระองค์พระองค์ทรงใช้นโยบายประหยัดและใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าที่สุด และในปัจจุบันนี้สถานีวิทยุ อ.ส. ยังคงกระจายเสียงเป็นประจำทุกวันเว้นวันจันทร์ โดยออกอากาศทั้งคลื่นสั้นและคลื่นยาว ในระบบ AM 1332 KHzและ FM 104 MHz ควบคู่กันไปด้วยกำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ โดยออกอากาศวันอังคารถึงวันเสาร์ เวลา 10.30-12.00 และ 16.00-19.00 วันอาทิตย์ เวลา 9.00-12.00หยุดทุกวันจันทร์

...พระราชกรณียกิจด้านดาวเทียม...


ดาวเทียมไทยคมนับว่า เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้การสื่อสารโทรคมนาคมของไทยก้าวสู่ยุคแห่งความล้ำหน้า และได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสนองพระราชดำริในเรื่องของการศึกษา คุณขวัญแก้ว วัชโรทัย เป็นผู้สนองพระราชภารกิจที่โรงเรียนไกลกังวล หัวหินซึ่งขณะนี้ได้พยายามที่จะนำเอาดาวเทียมไทยคมเข้าไปใช้ในกิจการด้านการเรียนการสอน เจตนารมณ์ดังกล่าวเป็นการสนองตอบความต้องการของประชาชน และเป็นการปรับปรุงในเรื่องของการศึกษาให้สอดคล้องกับยุคสมัยอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นการจัดการศึกษาใต้ร่มพระบารมีอย่างแท้จริง และที่สำคัญเพื่อเป็นการสนองพระบรมราโชบายทางการศึกษา ในอันที่จะทำให้โรงเรียนไกลกังวลเป็นเครือข่ายและเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาไทยคมอย่างแท้จริง กล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นอเนกอนันต์ต่อประเทศชาติ ที่ได้มีพระราชดำริให้มีการพัฒนางานทางระบบวิทยุสื่อสารขึ้นในประเทศอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง เพราะสังคมปัจจุบันนั้น การสื่อสารก็เปรียบเสมือนกับระบบประสาทของร่างกายมนุษย์ ดังนั้นจึงนับได้ว่า พระองค์ท่านนั้นมีสายพระเนตรที่ยาวไกล ทรงเห็นบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อการสื่อสาร

...โครงการ E-Learning...

มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2539เพื่อเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี และได้ร่วมกับกรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมถ่ายทอดสดหลักสูตรมัธยมศึกษาให้แก่ โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา และสังกัดหน่วยงานอื่น ๆ จำนวน 3,000 โรงเรียนทั่วประเทศทางช่อง 11-16 (UBC) โดยกองทัพบก องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานต่าง ๆร่วมกันโดยเสด็จพระราชกุศลเป็นการพระราชทานการศึกษาไปสู่ปวงชน และกำลังดำเนินการขยายไปสู่โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติตามลำดับ รวมทั้งการออกอากาศรายการภาคภาษาอังกฤษทางช่อง 17 (UBC) สำหรับบุคคลที่สนใจ ประเทศเพื่อนบ้าน และชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทย โดยได้รับความร่วมมือจากองค์การระหว่างประเทศ สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน สถานเอกอัครราชทูต ซึ่งจะเริ่มออกอากาศในต้นปีพ.ศ.2545เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติิต่อเนื่อง สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยได้พิจารณาเห็นว่า การจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านอินเตอร์เนตควบคู่ไปกับการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของมูลนิธิฯ จะเป็นประโยชน์ต่อ การขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้เรียนที่จะมีโอกาสได้เรียนรู้ตามอัธยาศัยสำหรับประชาชนทั่วไป นักศึกษาผู้ใช้อินเตอร์เนต (internet)ในประเทศ และมิตรประเทศได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เป็นการประหยัดในการค้นคว้าข้อมูลจากรายการการศึกษาทางไกลของมูลนิธิฯ ประหยัดเวลาในการบันทึกเทป ประหยัดเทปและงบประมาณ ยิ่งไปกว่านั้น สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ได้พิจารณาเห็นว่า สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม วังไกลกังวลมีความพร้อมและเหมาะสมกว่าที่อื่นในการเกื้อกูลระบบ e-Learning ให้ประสบผลสำเร็จได้ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) บริษัท แอ๊ดว้านซ์วิชั่นซิสเท็มส์ จำกัด บริษัทเทเลแซท คอร์ปอเรชั่น จำกัดและบริษัท ซิสโก้ ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด จึงร่วมกันเฉลิมพระเกียรติ จัดทำระบบ e-Learning ให้แก่มูลนิธิฯ ในต้นปี พ.ศ.2545 นี้ เท่ากับว่า ผู้ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ ์ทั้งในและต่างประเทศ สามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนการสอนจากการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม โดยศึกษาผ่านอินเตอร์เนตได้อีกทางหนึ่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเรื่องเนื้อหาวิชา (free-of-charge web-based information content) ทั้งในลักษณะ Live Broadcast และOn Demandซึ่งขณะนี้ได้เปิดทดลองให้บริการในลักษณะ Live Broadcast และจะเปิดให้บริการ ทั้ง 2 ระบบเป็นปฐมฤกษ์ ในวันที่ 18 มีนาคม 2545

วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ภูมิปัญญาท้องถิ่น


















1.เครื่องทองเหลือง
ผลิตภัณฑ์เครื่องทองเหลือง เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำทองเหลือง มาหลอมกันเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆหลายรูปแบบ เป็นภูมิปัญญาไทยที่ได้สั่งสมและสืบทอดกันมายาวนาน เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความสวยงาม มีคุณค่า ควรแก่การเก็บรักษาไว้ หรือเป็นของฝากของที่ระลึก
บ้านเขาลอยเป็นชุมชนเล็กๆที่สืบเชื้อสายมาจากชาวไท–ยวน (ลาวพรวน) ได้มาตั้งรกรากเป็นชุมชนอยู่ที่บ้านเขาลอย เมื่อสมัยสงครามระหว่างไทย-พม่า เมื่อสองร้อยปีมาแล้ว การทำเครื่องทองเหลืองขึ้นใช้เริ่มต้นด้วยการนำเศษทองเหลือง ทองแดง ดีบุก มาหลอมรวมกันเป็นลูกกระพรวนทองเหลือง (ลูกมะโห้) ใช้เป็นวัตถุคล้องคอสัตว์เลี้ยงเพื่อให้มีเสียงกังวานและได้ยินเสียงในระยะไกล เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหายจากฝูง ต่อมามีคนสนใจมากขึ้นจึงคิดประดิษฐ์เครื่องทองเหลืองเป็นรูปแบบต่างๆ เริ่มจากระฆังใบเล็กๆ (กระดิ่ง)โดยมีผู้สนใจนำไปแขวนชายคาอุโบสถ และเมื่อครั้งทหารต่างชาติเข้ามาเที่ยววัดพระแก้ว ได้เห็นกระดิ่งชายคาอุโบสถ จึงได้สอบถามแหล่งที่มา ทราบว่ามีการผลิตที่บ้านเขาลอย จึงได้สั่งซื้อไปเป็นที่ระลึกจำนวนมาก ทำให้ระฆังทองเหลืองบ้านเขาลอยเป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่อมามีการพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น ทำเป็นผลิตภัณฑ์รูปสัตว์ต่างๆ ระฆังขนาดใหญ่ ขันใส่บาตร ทัพพีตักข้าว ถาดอาหาร ฉิ่ง ฉาบ เครื่องประดับ ของชำร่วย อุปกรณ์ของใช้และสิ่งประดิษฐ์ต่างๆตามแต่ผู้สั่งซื้อต้องการ และได้พัฒนาคุณภาพมาตรฐานและความสวยงามอยู่เสมอ ส่งผลให้ชาวบ้านมีงานทำมีรายได้เพิ่มมากขึ้นและสามารถยึดเป็นอาชีพเสริมได้
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์เครื่องทองเหลืองของชาวบ้านเขาลอย เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นการนำวัสดุเศษทองเหลือง ทองแดง ดีบุกมาผสมรวมกันเป็นงานหัตถศิลป์ที่มีรูปแบบเฉพาะ แปลกตา สวยงาม โดยเฉพาะกระดิ่งจะมีเสียงกังวานไพเราะใช้ประโยชน์ได้ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าในการเก็บรักษา เป็นของฝากที่ระลึก และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) แล้ว
สถานที่จำหน่าย กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องทองเหลือง 39 หมู่ที่ 7 ตำบลดอนตะโก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โทร. 0-3232-7559



ประวัติความเป็นมา
ชาวบ้านเขาลอย เดิมทีเป็นชาวไท-ยวน (ลาวพรวน) ที่ได้อพยพหนีภัยสงครามระหว่างไทยกับพม่า มาตั้งรกรากเป็นชุมชนอยู่ที่บ้านเขาลอย (ประมาณ 200 กว่าปีมาแล้ว) แรกเริ่มจะประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นหลัก ได้แก่ ทำไร่ ทำนา เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะเลี้ยงวัวเป็นจำนวนมาก ต่อมาเกิดเหตุอุทกภัยในหมู่บ้าน ทำให้ชาวบ้านที่เลี้ยงวัวต้องอพยพหนีน้ำขึ้นไปอยู่บริเวณที่สูงซึ่งสมัยก่อนจะเป็นป่าไม้จำนวนมาก ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาวัวหลงฝูงและเกิดสูญหาย ซึ่งมีชายคนหนึ่งชื่อลุงแก้ว เป็นเจ้าของวัวฝูงหนึ่งคิดทำเกราะไม้ไผ่ใส่คอวัวเพื่อให้ได้ยินเสียง เมื่อวัวเดินไปในที่ต่างๆ แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้มากนัก เนื่องจากเสียงดังไม่ไกลและไม่ทนทาน จึงได้คิดทำเป็นลูกกระพรวนทองเหลือง ชาวบ้านเรียกลูกมะโห้ มีเสียงดังกังวาน ได้ยินเสียงเป็นระยะทางไกลๆ ซึ่งปัญหาวัวหายก็หมดไปจึงเกิดการทำลูกกระพรวนทองเหลืองอย่างแพร่หลาย เมื่อคนนอกชุมชนมาเห็นก็พากันสั่งซื้อ จึงได้มีการคิดประดิษฐ์เครื่องทองเหลืองเป็นรูปแบบอื่นๆ นอกจากลูกกระพรวนคล้องคอวัว โดยเริ่มจากระฆังลูกเล็กๆ ซึ่งต่อมามีชื่อเสียงมีคนมาสั่งทำเป็นจำนวนมาก ทำให้ระฆังทองเหลืองบ้านเขาลอยเป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไป โดยเฉพาะเจ้าของร้านค้าในกรุงเทพฯ จะมาสั่งซื้อครั้งละเป็นจำนวนมากๆ ชาวบ้านเขาลอยจึงรวมตัวกันขึ้นเป็นกลุ่มอาชีพผู้ผลิตเครื่องทองเหลืองขึ้น ประมาณปี พ.ศ. 2514 ซึ่งในช่วงนี้จะทำผลิตภัณฑ์เครื่องทองเหลืองทั้งหมู่บ้าน แต่ต่อมาเมื่อที่ดินราคาสูง ชาวบ้านได้ขายที่ดินมีฐานะดีขึ้นจึงได้เลิกทำทองเหลืองไปบางส่วน ปัจจุบันเหลือทำอยู่ประมาณ 10 กว่าหลังคาเรือน

วิถีชีวิต วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม
จากจุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหาวัวหาย โดยการทำกระพรวนผูกคอวัว จนกลายมาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องทองเหลืองหลากหลายรูปแบบที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ชุมชนบ้านเขาลอย นับเป็นภูมิปัญญาที่ผ่านการคิดค้นของชาวบ้าน เพื่อแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิต จนกลายเป็นอาชีพที่มีรายได้มั่นคงลุงเล็ก (ปัจจุบันเป็นประธานกลุ่มอาชีพทำทองเหลืองบ้านเขาลอย) เล่าให้ฟังว่า “เดิมทีลุงแก้ว คิดทำเป็นคนแรก โดยมีลุงโพธิ์ ลุงมี เป็นคนช่วยทำเป็นลูกมะโห้ (ลูกกระพรวนทองเหลือง)โดยการนำเศษทองเหลือง ทองแดง ดีบุก มาหลอม ต่อมาคนนอกหมู่บ้านมาพบและ เห็นว่ามีประโยชน์จึงมีการสั่งซื้อ สั่งทำ เริ่มมีการแพร่หลายออกนอกชุมชน จึงได้มีการคิดรูปแบบให้หลากหลายขึ้น เริ่มต้นที่รูประฆังใบเล็กๆ (เรียกกระดิ่ง) ซึ่งมาสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก เพื่อนำไปแขวนชายคาพระอุโบสถ ทำให้ชาวบ้านมีรายได้ จึงได้มีการทำทองเหลืองทุกหลังคาเรือน”
ในปี 2518 ที่มีการตั้งฐานทัพเรือที่อู่ตะเภา ทหารจากกองทัพสหรัฐฯ เห็นกระดิ่งแขวนตามวัดต่างๆ จึงได้มีการสอบถามที่มาและเมื่อทราบก็มีการสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก เพื่อนำกลับไปยังสหรัฐฯ ไปเป็นของที่ระลึก ต่อมามีการทำเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ระฆังที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ขันใส่บาตร ทัพพีตักข้าว หลากหลายอุปกรณ์ของใช้ที่ทำจากทองเหลืองและสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ (ตามแต่ผู้สั่งซื้อต้องการ) ที่นับเป็นเอกลักษณ์เครื่องทองเหลืองบ้านเขาลอย คือ ระฆังใบเล็กๆ หรือที่เรียก กระดิ่ง ที่ใช้แขวนตามหลังคาโบสถ์ วัดวาอารามต่างๆ โดยเฉพาะที่ทำให้มีชื่อเสียงมาก คือนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาเที่ยวโบสถ์วัดพระแก้วและได้ยินเสียงกระดิ่งที่แขวนชายคาโบสถ์ได้ไต่ถามถึงที่มา จึงได้รู้ว่าทำที่บ้านเขาลอย ต.ดอนตะโก จ.ราชบุรี จึงได้มีการสั่งทำเพื่อนำกลับไปยังต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ประเทศที่สั่งซื้อได้แก่ ฝรั่งเศส สหรัฐฯ แคนาดา อินโดนีเซีย จีน เป็นต้น
วัตถุดิบ กระบวนการผลิต
วัตถุดิบหลักๆ คือ ทองเหลือง ซึ่งจะซื้อมาจาก กรุงเทพมหานคร อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรีบ้างและอาจมีดีบุก ทองแดง มาผสมในงานบางชิ้น (แต่เดิมใช้เศษทองเหลืองที่เป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์ต่างๆ มาหลอมทำ) ซึ่งก่อนจะหลอมเป็นรูปแบบต่างๆ จะต้องมีการทำแม่พิมพ์ขึ้นมา โดยใช้ดินที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาผสมกับมูลวัว กับน้ำ และแกลบแล้วทำเป็นหุ่นดิน ตากให้แห้งนำมากลึงโดยใช้พะบอน (เป็นเครื่องกลึงที่คิดค้นจากภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยการสาวเชือกผ่านแกนไม้ที่เสียบอยู่กับหุ่นดิน แล้วมีคนใช้เหล็กปลายแหลมกลึง) เป็นรูประฆังอย่างสวยงาม ปัจจุบันจะใช้ปูนปลาสเตอร์ทำเป็นแม่พิมพ์เพื่อความสะดวก รวดเร็วและทำได้เป็นจำนวนมากๆ หลายรูปแบบ การกลึงเปลี่ยนมาใช้มอเตอร์ช่วย การขัดให้สวยงามเรียบร้อย จากเดิมใช้ตะไบก็หันมาใช้มอเตอร์ช่วย
ประโยชน์ ที่ชัดเจนคือสร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิตซึ่งปัจจุบันถือเป็นรายได้หลัก (แต่เดิมรายได้หลักจะมาจากการทำไร่ ทำนา) เพราะจะมีการสั่งทำ สั่งซื้อจากภายนอกชุมชน ทั้งในและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยการรับใบสั่งซื้อจะรับในนามกลุ่ม แล้วกลุ่มจะไปบริหารการผลิตโดยแจกจ่ายให้แก่สมาชิกตามความชำนาญในการผลิตแต่ละประเภท/แบบ
ประโยชน์ต่อมาก็คือสร้างชื่อเสียงให้แก่บ้านเขาลอย เป็นชุมชนในการผลิตเครื่องทองเหลืองและที่สำคัญ คือ ได้สืบทอดมรดกฝีมือการทำทองเหลืองต่อจากบรรพบุรุษสู่อนุชนรุ่นหลัง
รูปแบบหรือประเภทผลิตภัณฑ์
ที่เป็นเอกลักษณ์และสร้างชื่อเสียง คือ ระฆังใบเล็กหรือที่เรียกกระดิ่ง และยังมีรูปสัตว์ต่างๆ ฉิ่ง ฉาบ เครื่องประดับ ของชำร่วย ของใช้ ขันตักบาตร ถาดใส่อาหาร ฯลฯ แล้วแต่ผู้สั่งซื้อต้องการ อาจนำรูปแบบต่างๆ มาให้ดูเป็นตัวอย่าง แล้วให้ทางกลุ่มผลิตตามแบบ
คุณภาพมาตรฐาน
ส่วนมากจะชอบความเรียบร้อย สวยงาม โดยเฉพาะกระดิ่ง ที่มีความสวยงาม ดังกังวาน ไพเราะ แต่จะมีบางรายโดยเฉพาะชาวต่างชาติ เช่น แคนาดา จะชอบผลิตภัณฑ์ทองเหลืองที่ออกจากเตาเผาที่ยังไม่ได้ตกแต่งซึ่งจะดูแปลกตา เป็นที่ชื่นชอบของชาวต่างชาติ เพราะถือเป็นฝีมือการผลิตเดิมๆ ที่มิได้มีการตกแต่ง

2.การปั้นโอ่ง
การปั้นโอ่งมังกรและเครื่องปั้นดินเผาของชาวราชบุรี เป็นอุตสาหกรรมพื้นบ้าน ที่มีชื่อเสียงมาก คนทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศต่างก็ชื่นชอบขั้นตอนในการผลิตโอ่งการผลิตโอ่งมังกรของจังหวัดราชบุรีนี้มีกรรมวิธีการผลิตอยู่ด้วยกัน ๕ ขั้นตอนดังต่อไปนี้










๑. การเตรียมดิน
การเตรียมดิน ดินที่ราชบุรีที่มีชื่อเสียงนั้น อยู่ที่ตำบลหลุมดิน อำเภอเมือง โดยดินที่นำมาใช้ในการปั้นโอ่ง คือ ดินเหนียว เมื่อได้ดินมาแล้ว ในขั้นตอนแรกจะต้อง มีการหมักดินเสียก่อน ประมาณ ๒-๓ วัน เมื่อดินอ่อนตัวดีแล้ว จึงนำดินจากบ่อหมักดินขึ้นมาพักไว้ เพื่อรอเข้าเครื่องนวด จากนั้นจึงนำดินมาเข้าเครื่องนวด โดยต้องมีการผสมทรายละเอียดลงไปด้วยเพื่อไม่ให้ดินที่จะใช้ปั้นโอ่งอ่อนตัวจนเกินไปเครื่องนวดดินจะทำการนวด และคลุกเคล้าดินเหนียวกับทรายเข้าด้วยกัน จนดูเหมือนเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งดินเหนียวที่ได้ในขั้นตอนนี้ จะมีลักษณะพอเหมาะ ไม่เหลวหรือแข็งจนเกินไปเมื่อดินที่ผสมออกมาจากเครื่องเรียบร้อยแล้ว ช่างจะต้องทำการตัดแบ่งดินเป็นก้อนๆ เพื่อความสะดวกในการนำไปปั้นเสียก่อน โดยใช้เครื่องมือที่เรียกกันว่าเหล็กตัด เหล็กตัดจะมีลักษณะเป็นเหล็กเส้นกลม นำมาโค้งเป็นรูปตัวยู ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับคันเลื่อยฉลุ แต่มีขนาดใหญ่และกว้างกว่า ที่ปลายของเหล็กจะขึงลวดไว้จนตึง ซึ่งเวลาตัดดินจะนำเส้นลวดนี้ไปตัดแบ่งดินจากกองใหญ่ ให้เป็นกองที่มีขนาดเหมาะสมในการปั้นจากนั้นช่างจะนำดินที่ตัดแล้วมาคลึงบนพื้น ซึ่งดินที่คลึงเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีลักษณะคล้ายกับบาตรพระ นอกจากนี้จะมีการโรยทรายละเอียดลงบนพื้นที่คลึงดินด้วย เพื่อให้ง่ายต่อการคลึงและไม่ทำให้ดินติดพื้น เมื่อช่างคลึงดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำดินที่คลึงแล้วไปพักไว้ เพื่อรอการขึ้นรูปโอ่งต่อไป
๒. การขึ้นรูป
เครื่องมือที่สำคัญและจำเป็นมากในการขึ้นรูป ก็คือ แป้นหมุน แป้นหมุนเป็นไม้กลมๆ มีแกนตรงกลางหมุนได้รอบตัว มีทั้งแบบหมุนด้วยมือ ใช้เท้าถีบ หรือจะเป็นแบบหมุนด้วยเครื่องจักรไฟฟ้าก็ได้ ในการขึ้นรูป นอกจากช่างปั้นแล้ว จะต้องมีผู้ช่วย ซึ่งก็คือ คนเตรียมดินนั่นเอง คนเตรียมดินจะเป็นผู้ยกดินที่ใช้ขึ้นตัวโอ่งวางบนแป้นหมุน จากนั้นช่างปั้นก็จะเปิดเครื่องจักร เพื่อให้แป้นหมุน ช่างก็จะใช้มือทั้งสองข้างประคองดินให้เป็นรูปร่างตามที่ต้องการ เมื่อได้ขนาดและรูปร่างของโอ่งตามที่ต้องการแล้ว ก็จะบังคับให้แป้นหยุดหมุน จากนั้นจึงยกโอ่งลงจากแป้นหมุนโดยการใช้เส้นตัดก้นโอ่งที่อยู่ติดกับแป้นหมุนเสียก่อน หากโอ่งมีขนาดเล็ก ช่างปั้นอาจจะยกลงจากแป้นหมุนเอง แต่หากโอ่งมีขนาดใหญ่ ช่างปั้นอาจจะช่วยกับคนเตรียมดินในการยกโอ่งลงจากแป้นหมุนก็ได้ โอ่งที่ยกลงจากแป้นหมุนเรียบร้อยแล้ว จะยังมีความาอ่อนตัวอยู่ ดังนั้นรูปร่างของโอ่งอาจบิดเบี้ยว ทำให้โอ่งเสียรูปทรงได้ ผู้ช่วยช่างปั้นโอ่ง จึงต้องใช้ห่วงไม้สองห่วงมาช่วยบังคับรูปทรงโอ่งไว้ ห่วงไม้ที่ใช้บังคับรูปโอ่งนี้ไม่มีชื่อเรียกเป็นภาษาไทย แต่ในภาษาจีน เรียกว่า "โคว" แปลว่า ห่วงนั่นเอง สำหรับโอ่งที่ปั้นเสร็จเรียบร้อยแล้วนี้ จะมีเฉพาะตัวโอ่งและโอ่งเท่านั้น ยังไม่มีปากโอ่ง เมื่อยกโอ่งลงจากแป้นหมุนแล้ว ก็จะนำโอ่งไปผึ่งลมไว้ที่ลาน รอให้โอ่งหมาด เพื่อเตรียมที่จะขึ้นปากโอ่งต่อไป ซึ่งในการขึ้นปากโอ่งจะต้องรอการขึ้นรูปโอ่ง ให้โอ่งมีจำนวนมากพอกับที่ต้องการเสียก่อน จากนั้นจึงนำโอ่งทั้งหมดไปขึ้นปากโอ่งทีเดียวการขึ้นปากโอ่งจะนำตัวโอ่งยกวางลงบนแป้นหมุนอีกครั้งหนึ่ง แต่แป้นหมุนที่ใช้ในการขึ้นปากโอ่งนี้ เป็นแป้นหมุนที่ใช้มือบังคับ และใช้แรงคนหมุน ช่างขึ้นปากโอ่งจะใช้ดินที่คนเตรียมดินทำเป็นเส้นไว้แล้ว มาวางวนรอบคอโอ่ง แล้วใช้มือหมุนหรือใช้เท้าถีบแป้นหมุนก็ได้ มือทั้งสองข้างก็คอยบีบดินให้ติดกันกับคอโอ่ง และคอยแต่งให้เป็นปากโอ่ง พอแต่งปากโอ่งจนเกือบจะได้ท ี่ช่างก็จะใช้ฟองน้ำชุบน้ำพอหมาดๆ ปาดวนไปรอบปากโอ่งอีกครั้งหนึ่ง เป็นการช่วยให้ปากโอ่งเรียบ จากนั้นก็ยกโอ่งไปผึ่งลมไว้ที่ลานโอ่งจะมีหลายแบบด้วยกัน การปั้นโอ่งบางประเภทเมื่อติดปากโอ่งเรียบร้อยแล้ว ก็รอเขียนลายได้เลย เช่น โอ่งเจ็ด แต่โอ่งบางประเภทต้องมีการติดหูโอ่งด้วย เช่น โอ่งพม่าหรือโอ่งมอญ เป็นต้น โดยการติดหูโอ่งนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับการติดปากโอ่ง
๓. การเขียนลาย
ก่อนการเขียนลายจะต้องมีการแต่งผิวโอ่งให้เรียบ และแต่งรูปทรงของโอ่งให้ดีเสียก่อน โดยใช้ “ไม้ตี” และ “ฮวยหลุบ” ฮวยหลุบเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งทำด้วยดินเผา มีลักษณะเหมือนลูกประคบ มีลักษณะกลมมน มีที่จับอยู่กลางลูก ใช้เพื่อรักษารูปทรงของโอ่ง เวลาตีโอ่งคนตีจะใช้ฮวยหลุบรองผิวโอ่งด้านใน ส่วนด้านนอกของโอ่งก็ใช้ไม้ตีตีโอ่ง เมื่อแต่งผิวโอ่งจนทั่วทั้งใบแล้ว จึงนำไปเขียนลายต่อไป ช่างเขียนลายส่วนใหญ่มักจะเป็นหญิง อาจะเป็นเพราะต้องอาศัยความใจเย็นและความประณีต ส่วนสิ่งที่จะนำมาใช้ในการเขียนลายโอ่งนั้น เป็นดินเหนียวนำมาผสมกับดินขาวที่ร่อนพิเศษให้มีเนื้อที่ละเอียดมาก จากนั้นนำดินที่ผสมกันนี้มานวดจนนิ่ม ดินนี้เรียกว่า “ดินติดดอก” เมื่อจะเริ่มเขียนลาย ช่างก็จะนำโอ่งที่แต่งผิวเรียบร้อยแล้วมาวางบนแป้นหมุนที่หมุนด้วยมือ แล้วจึงใช้ดินติดดอกปั้นเป็นเส้นเล็กๆ ป้ายติดไปที่โอ่งสามตอนเพื่อแบ่งโอ่งออกเป็นสามช่วง คือ ช่วงปากโอ่ง ตัวโอ่ง และเชิงล่างของโอ่ง เนื่องจากแต่ละช่วงจะติดลายไม่เหมือนกันช่วงปากโอ่งจะนิยมติดลายดอกไม้หรือลายเครือเถา เพื่อความสะดวก รวดเร็วและความเป็นระเบียบสวยงาม ช่วงตัวโอ่งนิยมเขียนเป็นรูปมังกร บางครั้งก็เป็นตัวมังกรแบนๆ แต่บางครั้งส่วนที่เป็นหัวมังกร จะปั้นนูนออกมาทำให้ดูมีชีวิตชีวามากขึ้น ส่วนช่วงเขิงด้านล่างของโอ่ง ช่างจะติดลายแบบเดียวกันกับช่วงปากโอ่ง แต่จะเป็นแบบง่ายๆ นอกจากใช้มือในการวาดลายอย่างชำนาญแล้ว ช่างเขียนลายยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้การวาดลายเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ผลงานที่ออกมาสวยงามมากขึ้นอีกด้วย เช่น การใช้แผ่นเหล็กที่ดัดเป็นรูปคลื่นช่วยในการทำลายมังกร การใช้หวีช่วยในการทำครีบมังกร เป็นต้น แต่ในบางครั้งลูกค้าก็สั่งโอ่งแบบที่ไม่มีลวดลาย ซึ่งก็ไม่ต้องเขียนลวดลายลงบนโอ่ง นอกจากจะใช้ดินติดดอกปั้นแต่งแล้ว ยังสามารถเขียนลายโอ่ง โดยใช้พู่กันจีนจุ่มน้ำเคลือบเขียนลายโอ่งได้อีกด้วย การเขียนลายโอ่งแต่ละใบนั้น จะใช้เวลาในการเขียนลายแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลายของโอ่งและขนาดของโอ่ง

๔. การเคลือบ
สำหรับน้ำที่ใช้ในการเคลือบโอ่งก็คือ น้ำโคลนผสมกับขี้เถ้า ซึ่งจะใช้เถ้าจากอะไรก็ได้ ในโรงงานทั่วไปมักจะใช้เถ้าที่ได้จากการเผาโอ่งนั่นเอง แต่หากเป็นขี้เถ้าที่ได้จากกระดูกสัตว์ เมื่อนำมาผสมเป็นน้ำเคลือบแล้ว นำไปเผาจะได้โอ่งที่ลวดลายสัสันสดใสกว่าน้ำเคลือบจากขี้เถ้าที่ได้จากพืช แต่ก่อนที่จะนำขี้เถ้าไปผสมกันกับน้ำโคลนจะต้องนำขี้เถ้าไปร่อนจนละเอียดเสียก่อน และเมื่อผสมออกมาเรียบร้อยแล้ว จะทำให้ได้น้ำเคลือบที่ละเอียดในการเคลือบโอ่ง จะนำโอ่งไปวางหงายในกระทะใบบัว ใช้น้ำเคลือบราดให้ทั่วด้านในโอ่งก่อน จากนั้นยกโอ่งคว่ำลงในกระทะนั้น ตักน้ำเคลือบมาราดรดผิวนอกจนทั่ว จึงยกขึ้นแล้วนำไปวางหงายผึ่งลมไว้ ในกระทะใบบัวจะมีน้ำเคลือบอยู่ ช่างก็จะนำน้ำเคลือบที่เหลืออยู่นี้ผสมรวมกับน้ำเคลือบที่เตรียมไว้ตั้งแต่ต้น แล้วนำโอ่งใบใหม่มาใส่กระทะแล้วก็ทำการเคลือบ ตามวิธีข้างต้นต่อไปเรื่อยๆ แต่การเคลือบโอ่งนี้เราจะเคลือบเฉพาะโอ่งที่ติดลายเท่านั้น โอ่งที่เคลือบแล้วจะทำให้เกิดสีสวยเป็นมัน เมื่อเผาเสร็จออกมา นอกจากนี้น้ำเคลือบยังช่วยสมานรอยแผลและรูระหว่างเนื้อดิน ทำให้น้ำไม่ซึมออกจากโอ่งเมื่อนำไปใช้อีกด้วย เมื่อเคลือบเสร็จแล้วช่างก็จะขนโอ่งทั้งหมดไปที่เตาเผาโอ่ง เพื่อทำการเผาโอ่งต่อไป
๔. การเผา
เป็นกรรมวิธีขั้นสุดท้ายของการทำโอ่ง เตาเผาฌอ่งจะเป็นเตาที่ก่อด้วยอิฐเป็นรูปยาว เรียกว่า “เตาอุโมงค์” ด้านข้างเตาด้านหนึ่งจะเจาะเป็นช่องประตู เพื่อใช้เป็นทางนำโอ่งหรือภาชนะดินเผาอื่นๆ เข้าไปเผา และเป็นทางขนโอ่ง หรือภาชนะดินเผาอื่นๆ ที่เผาเสร็จแล้วออกจากเตา ส่วนด้านข้างเตาอีกด้านหนึ่งจะก่ออิฐเรียบไปตลอด ด้านบนของเตาจะเจาะรูไว้เป็นระยะๆ เพื่อใช้ใส่ฟืนเป็นเชื้อในการเผา รูที่เจาะไว้นี้เรียกว่า “ตา” หรือ “ตาไฟ” จะมีตาอยู่รอบเตาทั้งสองด้าน เตาหนึ่งๆ นั้นจะมีช่องประตูและตามากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของเตา เช่น เตาที่มี ๔ ช่อง ประตูก็จะทำตาไว้รอบเตา ๗๐ ตา ปลายด้านหนึ่งของเตาอุโมงค์จะใช้เป็นเตาสำหรับก่อไฟ ส่วนปลายอีกด้านก็จะเป็นก้นเตา ใช้เป็นปล่องสำหรับระบายควันออกจากเตา เมื่อจะเผาโอ่งนั้น จะต้องเปิดประตู นำโอ่งที่จะเผาเรียงเข้าในเตา เผาให้เต็มจากนั้นปิดประตูด้วยอิฐชนิดเดียวกับที่ใช้ก่อเตา ใส่เชื้อไฟตามตาที่อยู่รอบๆ เตาจนเต็ม แล้วจึงก่อไฟทีปากเตาอากาศร้อนจะวิ่งจากปากเตาไปสู่ก้นเตาซึ่งเย็นกว่า อากาศร้อนก็จะลอยออกไปทางก้นเตา จึงทำให้เกิดแรงดูดขึ้นภายในเตา ความร้อนจากปากเตาก็จะวิ่งเข้ามาในเตา เมื่อพบกับเชื้อที่ใส่เอาไว้ก็เกิดการลุกไหม้ทั่วทั้งเตา การเผานี้จะปล่อยไว้ให้ลุกไหม้ติดต่อกันนาน ๒ วัน เมื่อถึงวันที่สามไม่ต้องเติมเชื้อไฟอีก ไฟก็จะค่อยๆ มอด ปล่อยทิ้งไว้ ๑๐ ถึง ๑๒ ชั่วโมง ความร้อนในเตาก็เกือบหมดไป จึงเปิดช่องประตูเตา นำโอ่งและภาชนะที่เผาออกมา คัดแยกโอ่งและภาชนะที่สมบูรณ์ทุกอย่างไว้ คือ จะมีความมันวาวมีสีน้ำตาลแก่อมเขียวและมีลวดลายสุกปลั่ง จากนั้นจึงนำไปจำหน่ายได้ ส่วนโอ่งและภาชนะที่ชำรุด เช่น มีสีด้านทึบ ลวดลายไม่เด่นชัด จะมีการตรวจสอบสภาพและแยกไว้เป็นระดับ แต่หากโอ่งมีความเสียหายมากต้องนำไปทุบทำลาย แต่อาจนำไปใช้ประโยชน์ คือ ถมที่ได้ เส้นทางเข้าสู่ตัวเมืองราชบุรีนั้น มีโรงงานปั้นโอ่งมังกรอยู่หลายแห่ง เฉพาะในตัวเมืองราชบุรี ก็มีโรงงาน สถานที่ผลิตและจำหน่ายมากถึงประมาณ ๔๐ แห่งเลยทีเดียว ซึ่งโรงงานผลิตโอ่งที่มีชื่อเสียงและน่าสนใจมีดังต่อไปนี้โรงงานรัตนโกสินทร์ 1 อยู่ในเขตอำเภอเมือง เป็นโรงานใหญ่มีการผลิตและจัดจำหน่ายเป็นอุตสาหกรรมพื้นบ้านครบวงจร โรงงานราชาเซรามิค ตั้งอยู่ที่ถนนทรงพล อำเภอบ้านโป่ง โรงงานเยี่ยมศิลป์ ตั้งอยู่ถนนเพชรเกษม อำเภอเมือง โรงงานสยามราชเครื่องเคลือบ ตั้งอยู่ที่ถนนเพชรเกษม อำเภอเมือง โรงงานรัตนโกสินทร์๒ อยู่บริเวณใกล้เคียงกับโรงงานรัตนโกสินทร์๑ เนื่องจากเป็นโรงงานสาขาที่สองของโรงงานรัตนโกสินทร์๑ โรงงานเถ้าฮงไถ่ ตั้งอยู่ที่ถนนนเจดีย์หัก - - - - -- -- - - - - - - - - - - - - -- -- - -ขอขอบคุณ : กรมประชาสัมพันธ์ เอื้อเฟื้อข้อมูลที่มา : http://www.prd.go.th//

การทอผ้าซิ่นตีนจก
ความหมายของคำว่า ผ้าซิ่นตีนจก ซิ่น หมายถึง ผ้าที่ทอเป็นถุง ตีน หมายถึงโครงสร้างส่วนล่างที่ประกอบเป็นผ้าถุง ซึ่งผ้าซิ่นตีนจกจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ หัวซิ่น(ส่วนบน) ตัวซิ่น(ส่วนกลาง) ตีนซิ่น(ส่วนล่าง) จก ตามภาษาพื้นบ้าน แปลว่า ควักหรือล้วงด้วยมือ เป็นเทคนิคการทำลายบนผืนผ้าเป็นช่วงๆ ทำใสห้สามารถสลับสีสันลวดลายได้หลากหลายสี เมื่อนำความหมายมารวมกันคำว่า ผ้าซิ่นตีนจก จึงหมายถึง การทำลวดลายที่มีสีสันงดงามบนผืนผ้าอาจจะใช่ฝ้ายหรือไหมแล้วนำมาประกอบหรือต่อตรงส่วนล่างของผ้าซิ่น เมื่อรวมกันเป็นผืนจึงเรียกว่า ซิ่นตีนจก













ซิ่นตีนจกนี้ถือเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านอย่างแท้จริง เนื่องจากสตรีในอดีตของอาณาจักรล้านนานิยมที่จะสอนลูกหลานให้รู้จักทอผ้าตีนจกไว้ใช้ เพื่อที่จะแสดงถึงความเป็นกุลสตรีและความเป็นแม่บ้านแม่เรือนในปัจจุบันซฺนตีนจกยังได้รับความนิยมในการสวมใส่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดภาคเหนือตอนบนเช่น เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา สุโขทัย อุตรดิตถ์ และชาวไทย-ยวน จังหวัดสระบุรีและราชบุรีบางส่วน นอกจากจะทอผ้าไว้ใช้เองแล้วยังสามารถทอเป็นสินค้าหัตถกรรมที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัวอีกด้วย






วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

กิจกรรมท้ายบท

๑. จงบอกความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาาอย่างถุูกต้อง
ตอบ เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ๆมาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ๆที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น

๒. จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาต่างๆมาอย่างน้อย ๕ สาขา
ตอบ ๑) เทคโนโลยีทางการทหาร
๒) เทคโนโลยีทางการแพทย์
๓) เทคโนโลยีทางการสื่อสาร
๔) เทคโนโลยีทางวิศวกรรม
๕) เทคโนโลยีทางการศึกษา

๓. จงอธิบายเปรียบเทียบความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพและทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ให้ชัดเจน
ตอบ เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาความรู้ แนวคิด กระบวนการ และผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพ เป็นเทคโนโลยีทางการศึกษาม่งไปที่วัสดุ อุปกรณ์หรือผลิตผลทางวิศวกรรมเป็นสำคัญ แต่ไม่รวมวิธีการหรือปฏิสัมพันธ์อื่นๆ
ทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีทางการศึกษาที่ม่งไปที่พฤติกรรมของมนุษย์เป็นสำคัญโดยมองว่ามนุษย์มีการเรียนรู้อย่างไร มีความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างไร จะจัดการเรียนการสอนหรือการศึกษาให้สอดคล้องกับพฤติกรรมต่างๆได้อย่างไร จึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรุ้ได้อย่างประสิทธิภาพ

๔. จงบอกความหมายของการศึกษาตามความเข้าใจของบุคคลในระดับต่างๆอย่างน้อย ๓ ระดับ
ตอบ การศึกษามีความหมายแตกต่างกันตามความเข้าใจของบุคคล แต่ละระดับดังนี้.-
๑) บุคคลธรรมดาสามัญ ตามความหมายพจนานุกรม อธิบายว่า การศึกษาเป็นการเล่าเรียนฝึกฝนและอบรม ( ราชบัญฑิตยสภา,๒๕๒๙ : ๑๐๘ )
๒) บุคคลในวิชาชีพทางการศึกษา ความหมายตามพจนานุกรมทางการศึกษาให้ความหมายว่าการศึกษาเป็นศิลปะการถ่ายทอดความรู้จากอดีต ซึ่งจัดรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระบบเพื่อให้บุคคลรุ่นหลังเข้าใจและนำไปปฏิบัคิ (Good, ๑๙๕๙:๑๙๑)
๓) บุคคลที่เป็นนักการศึาษา นักการศึกษามีทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาแตกต่างกัน จำแนกได้เป็น ๒ ทัศนะ คือ
๒.๑ ทัศนะแนวสังคมนิยม การศึกษาแนวสังคมนิยมให้ความสำคัญของส่วนรวมก่อน
๒.๒ ทัศนะเสรีนิยม การมุ่งพัฒนาบุคคลแต่ละคนให้เจริญงอกงามเต็มที่ตามความสามารถที่เขามีอยู่แล้ว

๕. เทคโนโลยีการศึกษามีกี่ระดับ แต่ละระดับมีความหมายอย่างไร จงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ เทคโนโลยีทางการศึกษา แบ่งออกได้ ๓ ระดับ ได้แก่
(๑) ระดับอุปกรณ์การสอน เป็นกรใช้เทคโนโลยีในระดับเครื่องช่วยการสอนครู เป็นการเร้าความสนใจของนักเรียน ขยายความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง เป็นการเพิ่มสัมผัสจากการใช้หูฟังครูพูดอย่างเดียวให้มีสัมผัสหลายทาง โดยการใช้ภาพใช้เสียงจริงหรือใช้วัสดุจำลอง การใช้ระดับนี้ต้องควบคู่ไปกับการสอนของครูตลอดเวลาจึงจะได้ผลดี
(๒) ระดับวิธีสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตัวเอง โดยผู้สอนไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในสถานที่แห่งเดียวกับผู้เรียนเสมอไป
(๓) ระดับการจัดระบบการศึกษา เป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้าง สามารถจัดระบบการศึกษาตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก

๖. จงอธิบายข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ชัดเจน
ตอบ ข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรม
เทคโนโลยี
๑) การนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวคิดใหม่มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
๒)ในปัจจุบันมีคนนิยมใช้มาก มีการปรับเปลี่ยนบทไปเรื่อยๆจนนิยมใช้จำนวนมาก
นวัตกรรม
๑) เป็นความคิดและการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว
๒) ความคิดหรือการกระทำมีการพิสูจน์ค้วยวิจัย น่าเชื่อถือมากขึ้น
๓) มีวิธีการอย่างมีระบบ การคิดและการใช้อย่างมีระบบ
๔) ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบในปัจจุบัน ทุกคนยังใช้ไม่ทั่วถึง
สรุป นวัตกรรม การนำวัสดุใหม่ๆโปรแกรมใหม่ๆ การนำเอามาพัฒนาให้ดีกว่าเดิม เกิดใหม่เป็นนวัตกรรม ถ้าใช้แล้วหายไป เมื่อมีคนนิยมใช้และใช้มากขึ้นปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ใช้แล้วถูกใจ คนใช้มากขึ้นปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆใช้แล้วถูกใจคนใช้มากขึ้นก็กลายเป็นเทคโนโลยี

๗. จงบอกขั้นตอนในการเกิดนวัตกรรมมาให้ถูกต้อง
ตอบ ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรมมีดังนี้
๑) ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น
๒) ขั้นการพัฒนาการหรือขั้นการทดลอง
๓) ขั้นการนำไปใช้หรือปฏิบัติจริง

๘. จงบอกบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอนมาอย่างน้อย ๕ ข้อ
ตอบ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา มีความสำคัญและบทบาทต่อการจัดการเขียนการสอนดังนี้
๑) ช่วยให้ผู้เรียนได้กว้างขวางมากขึ้น ได้เห็นหรือได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนและเข้าใจได้สมบรูณ์และยังทำให้ผู้สอนมีเวลาแก่ผู้เรียนมากขึ้น
๒) สามารถสนองเร่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมมากขึ้น ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถ ตามความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคล
๓) ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น มีการค้นคว้า ทดลอง ค้นพบวิธีการใหม่ๆ ตามสภาพความเปลี่ยนแปลง
๔) มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน ให้มีคุณภาพและสะดวกต่อการใช้มากขึ้น
๕) ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านทัศนะหรือเจตคติและทักษะแก่ผู้เรียนด้วย เช่น การเรียนผ่านทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ สไลต์ ชุดการสอน กระบวนกลุ่ม
๖) ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียนให้มากขึ้นมากขึ้น เช่น การจัดการศึกษานอกระบบการจัดการศึกษา

๙. จงยกตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันมาอย่างน้อย ๓ ชนิด
ตอบ ตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษามีดังนี้
๑) การสอนแบบโปรแกรม
๒) ศูนย์การเรียน
๓) ชุดการเรียนการสอน
๔) การเรียนการสอนแบบระบบเปิด
๕) การสอนเป็นคณะ
๖) บทเรียนสำเร็จรูป ยุคเดิมเป็นเอกสาร ยุคใหม่เป็น cat
๗) การจัดโรงเรียนไม่แบ่งชั้น
๘) การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
๙) การเรียนการสอนทางไกล
๑๐) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
๑๑) การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน
๑๒) เรียนปนเล่น
๑๓) แบบฝึกแบบปฏิบัติเฉพาะคิดหรือเฉพาะวิชา

๑๐. จงอธิบายถึงสาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาอย่างน้อย ๓ ข้อ
ตอบ สาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษา มีดังนี้
๑) การเพิ่มประชากร
การเพิ่มประชากรเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านต่างๆ เช่น การขาดแคลนอาหาร ที่อยู่อาศัย สถานที่เรียน ครู สื่อการสอน ทำให้การจัดการศึกษาเป็นไปไม่ทั่วถึง
๒) การเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและสังคม
เป็นปัญหาที่ต่อเนื่องจากการเพิ่มประชากร ทำให้สภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การต่อสู้ดิ้นรน การแข่งขันสูงขึ้น การศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการศึกษาสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้สังคมได้อย่างมีความสุขและก้าวหน้าต่อไป
๓) ความก้าวหน้าทางวิทยากรใหม่ๆ
การศึกษาค้นคว้าเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาที่เป็นผลกระทบมาจากเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้พบวิทยาการใหม่ๆหลากหลาย ด้านการศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงหลักสูตร เนื้อหา และวิธีการสอน เพื่อให้ทันกับเครื่องมือและวิธีการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

๑๑) จงอธิบายแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการศึกษาไทยอย่างน้อย ๕ ข้อ
ตอบ แนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการศึกษาไทยมีดังนี้
๑) การจัดห้องเรียนและระบบการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลาง
๒)การรู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมู่ทางการเรียนมักเกิดปัญหา เนื่องจากครูเร่งกรอกความรู้ให้แก่ผู้เรียนอย่างเร่งรีบ
๓) การสอนแบบพูดอย่างเดียว ผู้เรียนมีหน้าที่เรียนและฟัง ทำให้ผู้เรียนไม่มีโอกาสได้ฝึกตนเอง
๔) การรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ระบบการศึกษาแบบเดิมมักจะสอนแต่ไม่มีการฝึกการเป็นพลเมืองดี
๕) ส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมในถิ่นของตนเอง ฝักใฝ่และหลงไหลมาอยู่ในกรุงหรือนิยมของต่างประเทศมากกว่าในประเทศ

๑๒. จงยกตัวอย่างและแนวทางในการก้ไขของการขาดลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทยอย่างน้อย ๕ ข้อ
ตอบ แนวทางแก้ไขของการขาดลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทย มีดังนี้
๑) กล้าและร้จักแสดงความคิดเห็น
๒) สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
๓) รู้จักทำงานร่วกันเป็นหมวดหมู่อย่งมีประสิทธิภาพ
๔) รู้จักแสวงหาความรู้เอง
๕) มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคม

.........................................................

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

....บริการสนทนาออนไลน์....

บริการสนทนาออนไลน์ หรือที่เรียกว่า Chat (IRC - Internet Relay Chat) หรือเรียกว่า Talk เป็นบริการที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในปัจจุบัน โดยผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบ (ทั้งโดยการพิมพ์ และพูด) กับผู้อื่นๆ ในเครือข่ายได้ในเวลาเดียวกันปัจจุบันบริการนี้ ได้นำมาประยุกต์ใช้กับการประชุมทางไกล (VDO Conference) โดยอาศัยอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น กระดานสนทนา, ไมโครโฟน, กล้องส่งภาพขนาดเล็กเป็นต้น

....กระดานข่าว....

กระดานข่าว หรือ Bulletin Board Sytem (BBS) เป็นบริการข่าวสารรูปแบบหนึ่ง โดยอาศัยการเผยแพร่ข้อมูลผ่านกระดานอิเล็กทรอนิกส์ ของเครือข่าย ตามหมวดหมู่ที่มีการกำหนดไว้ หรืออาจจะกำหนดเพิ่มเติมก็ได้ ที่เรียกว่ากลุ่มข่าว (Newsgroup) เช่น กลุ่มผู้สนใจด้านศิลปะ, ด้านโปรแกรม เป็นต้นปัจจุบันเป็นบริการหนึ่งที่นิยม และมีการปรับรูปแบบให้อยู่ในรูปของเอกสาร HTML ทำให้สามารถเรียกดู และใช้งานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว

....แนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ต....

เป็นที่แน่นอนแล้วว่าในอนาคต อินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีส่วนร่วมกับชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้น และจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีรูปแบบใหม่ ดังนี้การคุยโทรศัพท์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Voice over IP) ซึ่งปัจจุบันองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ก็นำมาใช้ผ่านหมายเลข 1234 ทั่วประเทศ (ต้นปี 2545)การคุยระยะไกลแบบมีภาพและเสียงของคู่สนทนา (Voice conference)การนำอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์กับเครือข่ายเคเบิ้ลทีวี (Web TV & Cable MODEM) การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตกับเครื่องใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน (Internet Device)

....Emotion....

Emoticon เป็นสัญลักษณ์ที่คิดค้นเพื่อให้การสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะบริการ Chat กระทำได้ง่ายและสะดวก โดยสัญลักษณ์แต่ละชิ้น จะแทนการแสดงออกทางอารมณ์ลักษณะต่างๆ และเป็นการเพิ่มลูกเล่นให้กับการสื่อสาร สร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันได้
:-)ยิ้ม
;-)ยิ้มและขยิบตา
:-(หน้านิ่วคิ้วขมวด
:-ยิ้มแบบเจื่อนๆ
:->อยู่ในอารมณ์ขันเล็กๆ
>:->อยู่ในอารมย์ไม่ชอบ
>;->ไม่ชอบเป็นอย่างมาก
>:-Cโกรธแล้วน่ะ
:)ฝืนๆ ยิ้ม
(-:สัญลักษณ์ของคนถนัดมือซ้าย
-oกำลังหาว
-ง่วงนอน
:-/งง
<> ไม่มีข้อคิดเห็นใดๆ
<>หัวเราะ
:-xห้ามพูด, ถูกปิดปาก
:-Pแลบลิ้น
:-9กำลังชำเลือง, หรือค้อนให้
C=:-)เป็นกุ๊กในครัว
*<:-)เป็นนางฟ้า
O:-)เป็นซานตาครอส
:-@ตระโกน
:-Oโอ้โฮ
[:-)ฟังเพลง (สวมหูฟัง)
:-*เปรี้ยวปาก
:-)~พ่นน้ำลาย
:~)เป็นหวัด
:'-)ร้องไห้ด้วยความสุข
:-Dหัวเราะใส่กัน
8-Oโอ้มายก๊อต
:---}พูดโกหก (จมูกยาว)

....บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย....

ANET
ASIA ACCESS
Asia Infonet
CS Internet
Cwn
Far East Internet
Idea Net
Ji-NET
Internet Thailand
Internet KSC
Data Line Thai
Samart Online
Siam Global Access
Pacific Internet (Thailand)
E-Z Net Company
Roynet Public Co., Ltd
Cable & Wireless Services (Thailand) Limited